PK

 

     แม้ว่าบทบาทของพระมหากษัตริย์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 จะลดลง
เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระองค์ยังคงพยายาม ปฏิบัติพระราชภารกิจ
เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่าง ๆ จะเห็นได้จากการที่พระองค์ไปประทับแรม
ณ พระตำหนักตามภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อที่จะทรงมีโอกาส ได้รับทราบถึงทุกข์สุขและสภาพ
ความเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎรซึ่งทำให้พระองค์ทรงพบว่าประชาชนชาวไทยส่วนมาก
มีปัญหาในเรื่องฐานะความเป็นอยู่ ซึ่งจะต้องแก้ไขไปพร้อม ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็น
ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและชลประทาน ด้านการจัดการและพัฒนาที่ดิน ด้านเกษตรกรรม
ด้านการศึกษาวิจัย ด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ด้านอาชีพเสริมและอื่น ๆ   ด้วยเหตุนี้โครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ
และโครงการตามพระราชประสงค์จึงได้เกิดขึ้นอย่างมากมายกว่า 2 , 000 โครงการ
ซึ่งล้วนแล้วแต่เพื่อความเป็นอยู่ของชีวิตที่ดีขึ้นของราษฎร์ทั้งสิ้น

 

PK2

 

ในด้านการศึกษา

      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริพร้อมกับได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
เป็นทุนริเริ่มในการจัดสร้าง โรงเรียน และวัด ทำโครงการ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อาทิเช่น
โรงเรียนตามวัดต่าง ๆ โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ โรงเรียนร่มเกล้า โรงเรียนราชประชาสมาสัย
กองทุนนวฤกษ์ มูลนิธิอานันทมหิดล ศาลารวมใจ โครงการพระดาบส โครงการสารานุกรมไทยแลศึกษา
อาทิเช่น โรงเรียนตามวัดต่าง โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ โรงเรียนร่มเกล้า โรงเรียนราชประชาสมาสัย
กองทุนนวฤกษ์ มูลนิธิอานันทมหิดล ศาลารวมใจ โครงการพระดาบส โครงการสารานุกรมไทย และอื่น ๆ

 

PK3

 

ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี

      ทรงฟื้นฟูสืบทอดประเพณีหลายอย่างเพื่อเป็นขวัญ เช่น พระราชพิธีจรดพระนั่งคัล
แรกนาขวัญ พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นต้น

 

PK4

 

ด้านศาสนา

       ทรงออกผนวชตามพระราชประเพณี เมื่อพุทธศักราช 2495 ทรงอุปถัมภ์การทำนุบำรุงศาสนา
ทุกด้าน เช่น การสร้างวัด สร้างพระพุทธรูป ประกอบพิธี ทางศาสนา เช่น การทอดกฐิน ผ้าป่า
และการบำเพ็ญการกุศลต่าง ๆ นอกจากนี้ยังทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ทุก ๆ ศาสนาที่ประชาชนนับถือ

 

PK5

 

ด้านการพัฒนาชนบท
       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทุกหนแห่งไม่ว่าดินแดนแห่งนั้นจะทุรกันดารเพียงใด ไม่ว่าใกล้ไกลแค่ไหน
พระองค์จัดทำ โครงการพัฒนาชนบท ตาม แนวพระราชดำริควบคู่ไปในทุกๆ ด้าน
ไม่เน้นด้านใดด้านหนึ่ง พระองค์มีจุดประสงค์เดียวคือ เพื่อขจัดความทุกข์ยาก
ของชาวชนบท และสนับสนุนส่งเสริม ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมทั้งแก้ปัญหา
สังคมเมืองให้ดีขึ้น โดยจะเห็นได้จากโครงการในพระราชดำริ หลายโครงการที่เกิดขึ้น
จากความรับผิดชอบ ของ หน่วยงานต่างๆ

       โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจะเป็นโครงการเกี่ยวกับปรับปรุงถนนหนทาง
การก่อสร้างถนนเพื่อการ สัญจรไปมาได้สะดวกและทั่วถึง การคมนาคม เป็นปัจจัยพื้นฐาน
ที่สำคัญของการนำความเจริญไปสู่ชนบท การสื่อสาร ติดต่อที่ดียังผล สำคัญทำให้เศรษฐกิจ
ของราษฎรในพื้นที่ดีขึ้น ราษฎร ก็มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในการพัฒนาชนบทนั้น การคมนาคม
เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่จะมองข้ามไปเสียมิได้ เพราะเป็นเสมือนประตูเชื่อม ระหว่างในเมือง
และชนบท ดังนั้น การที่จะเริ่มโครงการพัฒนาใดๆ นั้นจะต้องเริ่มจากการปรับปรุง และ
การก่อสร้าง ถนนหนทางเป็นการเปิดประตูนำความเจริญเข้าไปสู่พื้นที่

PK6

 

ด้านการเกษตรและชลประทาน

        ในด้านการเกษตร จะทรงเน้นในเรื่องของการค้นคว้า ทดลอง และวิจัยหาพันธุ์พืชใหม่ ๆ
ทั้งพืชเศรษฐกิจ พืชสมุนไพร รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช และพันธุ์สัตว์ต่าง ๆ
ที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งแต่ละโครงการจะเน้นให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
มีราคาถูก ใช้เทคโนโลยีง่าย ไม่สลับซับซ้อน เกษตรกรสามารถดำเนินการเองได้ นอกจากนี้
ยังทรงพยายามไม่ให้เกษตรกรยึดติดกับพืชผลทางการเกษตรเพียงอย่างเดียว เพราะอาจเกิด
ปัญหาอันเนื่องมา จากความแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศ หรือความแปรปรวนทางการตลาด
แต่เกษตรกรควรจะมีรายได้จากด้านอื่นนอกเหนือไปจากการเกษตรเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อจะได้
พึ่งตนเองได้ในระดับหนึ่ง

        การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการชลประทาน นับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญ
และมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เพราะเกษตรกร จะสามารถ
ทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปี เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็น
พื้นที่นอกเขตชลประทาน ซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝนและน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก
ทำให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอ และไม่เพียงพอ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความ
สนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำมากกว่าโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริประเภทอื่น

PK7

 

ด้านการแพทย์

      โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้กับประชาชนในระยะแรก ๆ
ล้วนแต่เป็นโครงการด้านสาธารณสุข เพราะพระองค์ทรงเห็นว่า หากประชาชนมีร่างกาย
ที่สมบูรณ์แข็งแรง จะนำไปสู่สุขภาพจิตที่ดี และส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดีไปด้วย
พระองค์จึงทรง ให้ ความ สำคัญกับงานด้านสาธารณสุขเป็นอย่างมาก ในการเสด็จ
พระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฏรตามท้องที่ต่างๆ ทุกครั้ง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้มี คณะแพทย์ที่ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากดรงพยาบาลต่างๆ
และล้วนเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น โดยเสด็จพระราชดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด
พร้อมด้วยเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ครบครัน พร้อมที่จะให้การรักษาพยาบาลราษฎร
ผู้ป่วยไข้ได้ทันที

       นอกจากนั้น ยังมีโครงการทันตกรรมพระราชทาน ซึ่งเป็นพระราชดำริที่ให้
ทันตแพทย์อาสาสมัคร ได้เดินทางออกไปช่วยเหลือบำบัดโรคเกี่ยวกับฟัน ตลอดจน
สอนการรักษาอนามัยของปากและฟัน แก่เด้กนักเรียนและราษฎรที่อาศัยอยู่ในท้องที่
ทุรกันดาร และห่างไกลจากแพทย์ทั่วทุกภาค โดยให้การ บริการรักษาโรคฟัน
โดยไม่คิดมูลค่า ทางด้านหน่วยแพทย์หลวงที่จะต้องตามเสด็จพระราชดำเนินไป ณ
ที่ประทับแรมทุกแห่งนั้น จะมีเจ้าหน้าที่ให้การ รักษาพยาบาลราษฎร ผู้มาขอรับการรักษา
ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่ประการใด นอกจากนั้น หน่วยแพทย์หลวงยังจัดเจ้าหน้าที่
ออกเดินทาง ไปรักษาราษฎรผู้ป่วยเจ็บ ตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลออกไปอีกด้วย

PK8

 

ด้านการกีฬา      

 เรือใบ เป็นกีฬาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเป็นพิเศษ พระองค์ทรงเป็นตัวแทน
ของประเทศไทยลงแข่งเรือใบใน กีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 9-16 ธันวาคม พ.ศ. 2510
ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยทรงเข้าค่ายฝึกซ้อมตามโปรแกรมการฝึกซ้อม และทรงได้รับ
เบี้ยเลี้ยงในฐานะนักกีฬา เช่นเดียวกับนักกีฬาคนอื่น ๆ ในที่สุด ด้วยพระปรีชาสามารถ พระองค์ทรงชนะเลิศเหรียญทอง และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเหรียญทอง
จาก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ท่ามกลาง
ความปลื้มปีติของพสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ และเป็นที่ประจักษ์แก่ชนทั่วโลก ทำให้
พระอัจฉริยภาพทาง กีฬาเรือใบ ของพระองค์ที่ยอมรับกันทั่วโลก

พระองค์ยังได้ทรงออกแบบและประดิษฐ์เรือใบยามว่างออกมาหลายรุ่น พระองค์พระราชทานนาม
เรือใบประเภทม็อธ ( Moth) ที่ทรงสร้างขึ้นว่า เรือใบมด เรือใบซูเปอร์มด และ เรือใบไมโครมด
ถึงแม้ว่าเรือใบลำสุดท้ายที่พระองค์ทรงต่อคือ เรือโม้ค (Moke) เมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510
เรือใบซูเปอร์มดยังถูกใช้แข่งขันในระดับนานาชาติที่จัดในประเทศไทยหลายครั้ง ครั้งสุดท้าย
คือเมื่อ พ.ศ. 2528 ในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 13

 

PK9

 

ด้านดนตรี
       งานทางด้านดนตรี พระองค์ทรงรอบรู้เรื่องดนตรีเป็นอย่างดีและทรงดนตรีได้หลายชนิด
เช่น แซ็กโซโฟน คราริเน็ต ทรัมเป็ต กีตาร์ และเปียโน ทรงโปรดดนตรีแจ๊ส เป็นอย่างมาก
และพระองค์ได้ประพันธ์เพลงที่มีความหมายและไพเราะหลายเพลงด้วยกัน เช่น
เพลงพระราชนิพันธ์แสงเทียน เป็นเพลงแรก สายฝน ยามเย้น ใกล้รุ่ง ลมหนาว ยิ้มสู้ ค่ำแล้ว
ไกลกังวล ความฝันอันสูงสุด และเราสู้ หรือจะเป็นพรปีใหม่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญ
อย่างหนึ่ งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของชาวไทย เป็นต้น

 

PK10

 

มูลนิธิชัยพัฒนา ( THE CHAIPATTANA FOUNDATION)      

เป็นมูลนิธิซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ และโครงการพัฒนาอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนในด้านเศรษฐกิจ
และสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถพึ่งพาตนเองได้ การดำเนินงานของ
มูลนิธิชัยพัฒนา จะเน้นกิจกรรม เพื่อ การพัฒนาที่ไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการของรัฐที่มีอยู่แล้ว
แต่จะพยายามสนับสนุน ส่งเสริม และ ประสานงานให้โครงการต่างๆ เกิดความสมบูรณ์
และ สามารถ ดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยเฉพาะในกรณีที่
โครงการของรัฐถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของระเบียบต่างๆ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ทันที
เช่นในกรณีที่อาจต้องจัดซื้อที่ดินจากราษฎรบางส่วน แต่รัฐมีปัญหางบประมาณ หรือถูกจำกัด
ด้วยเงื่อนไขของระเบียบต่างๆ มูลนิธิชัยพัฒนาจะช่วยเหลือตาม ความเหมาะสม เพื่อให้
โครงการนั้นดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด>

       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุน
เริ่มแรกในการจัดตั้งมูลนิธิชัยพัฒนา และผู้มีจิตศรัทธาได้ทูลเกล้าฯ ถวายสมทบ
มูลนิธิชัยพัฒนาก่อตั้งเมื่อ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๓๑ ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา 
เล่มที่๑๐๕ ตอนที่ ๑๐๙ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๓๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงดำรงตำแหน่งนายกมูลนิธิ ด้วยพระองค์เอง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
 ทรงดำรงตำแหน่งองค์ประธานบริหารมูลนิธิ โดยมี ดร.สุเมธ
ตันติเวชกุล
เป็นเลขาธิการมูลนิธิ