ทำความรู้จัก Raspberry Pi     >> การพัฒนาโปรแกรมบน Raspberry Pi ด้วย Qt


Raspberry Pi (ออกเสียงว่า ราส-เบอร์-รี่-พาย) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋ว ที่มีขนาดเพียงเท่ากับบัตรเครดิต ที่สำคัญคือ ราสเบอร์รี่พายนี้มีราคาที่ถูกมาก เมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปปกติ คือมีราคาเพียงแค่หนึ่งพันกว่าบาทเท่านั้นเอง!!! แต่เห็นราคาเท่านี้ ทำงานได้เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกอย่างเลยนะครับ เราสามารถต่อ ราสเบอร์รี่พายนี้เข้ากับจอคอมพิวเตอร์หรือจอทีวีที่รองรับ HDMI หรือถ้าไม่มีพอร์ต HDMI ก็ไม่ต้องกังวล สามารถต่อผ่านสายสัญญาณวิดีโอปกติ (เส้นสีเหลือง) ได้เช่นกัน แต่ความละเอียดอาจจะต่ำกว่า

นอกจากต่อจอแสดงผลแล้ว ก็ต้องต่ออุปกรณ์รับข้อมูล ราสเบอร์รี่พายนี้รองรับเมาส์และคีย์บอร์ดผ่าน USB port ปกติ เพราะฉะนั้นสามารถนำเมาส์และคีย์บอร์ดที่มีอยู่แล้วมาต่อได้เลย ระบบจ่ายไฟของราสเบอร์รี่พายก็ง่ายมากๆ เพียงเสียบสาย Mini USB ที่เราใช้ชาร์จมือถือและอุปกรณ์อื่นๆ เข้ากับคอมพิวเตอร์ หรือเข้ากับหัวชาร์จไฟมือถือก็ได้เช่นกัน

ราสเบอร์รี่พาย (Raspberry Pi) เกิดขึ้นในปี 2549 ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ โดยผู้สร้างทั้งสี่คนคือ อีเบน อัพตั้น, ร๊อบ มูลลิ่นส์, แจ๊ค แลง และ อลัน มายครอฟท์ มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ ราสเบอร์รี่พายเป็นคอมพิวเตอร์ราคาย่อมเยาที่ใครๆ ก็สามารถหามาครอบครองได้ และสามารถศึกษาการทำงานของคอมพิวเตอร์พร้อมทั้งเขียนโปรแกรมง่ายๆ ได้ทันที การที่ราสเบอร์รี่พายเป็นบอร์ดวงจรรวมที่เปลือยเปล่า ทำให้เด็ก ๆ ได้เห็นชิ้นส่วนทั้งหมดที่เป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะทำให้เข้าใจการทำงานของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันที่มาในกล่องสวยงามได้มากขึ้น

ราสเบอร์รี่พาย ทำอะไรได้บ้าง?

ง่ายที่สุดทุกคนสามารถใช้ราสเบอร์รี่พายเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปประจำบ้านอีกเครื่องหนึ่งได้ แม้ว่าอาจจะไม่มีพลังสูงเหมือนเครื่องรุ่นใหญ่ แต่ก็เพียงพอสำหรับเด็กๆ ที่จะเล่นกับคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการพื้นฐานของ ราสเบอร์รี่พาย (NOOBS หรือ Raspian) นั้นมีโปรแกรมและเกมส์จำนวนหนึ่งให้ลองใช้อีกด้วย แต่ที่สำคัญคือ เด็กๆ สามารถเริ่มฝึกเขียนโปรแกรมได้ทันที เช่น เขียนโปรแกรมง่ายๆ ด้วยภาษาไพทอน (Python) ที่มีโปรแกรมรองรับทันทีที่เปิดเครื่องขึ้นมา

ราสเบอร์รี่พาย, คอมพิวเตอร์จิ๋ว, raspberry Pi

แต่ที่มากกว่านั้นคือการประยุกต์ใช้ราสเบอร์รี่พายเพื่อทำสิ่งอื่นๆ ที่มีมากมายสุดแสนจะบรรยาย เช่น สามารถนำไปทำเป็นหุ่นยนต์ เครื่องเล่นดนตรี เครื่องตรวจจับสภาพอากาศ หรือแม้กระทั่งติดตั้งกล้องเพิ่มเติมให้เจ้าราสเบอร์รี่พายเพื่อทำเป็นกล้องวงจรปิดใช้เองในบ้านก็ยังได้

ราสเบอร์รี่พาย, คอมพิวเตอร์จิ๋ว, raspberry Pi

อยากลองศึกษาราสเบอร์รี่พายบ้างแล้ว ต้องทำอย่างไร?

หากสนใจหาเจ้าราสเบอร์รี่พายสักเครื่องเพื่อมาศึกษาหรือให้เด็กๆ ที่บ้าน หรือสถานศึกษาของท่านได้ลองเรียนรู้ ราสเบอร์รี่พายตัวจิ๋วตัวนี้ สามารถลองเข้าไปเช็คเว็บไซต์ของผู้จัดจำหน่าย (เช่น th.rs-online.com หรือ th.element14.com) และสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ https://www.raspberrypi.org/ หรือเว็บไซต์อื่นๆ อีกมากมาย

กรณีการทำเครื่องขุดบิทคอยน์ขนาดจิ่ว

สำหรับนักทดลอง ที่มี Raspberry Pi อาจจะคันไม้ คันมือจะขุดบิทคอยน์ด้วย Raspberry Pi ซึ่งในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ราสเบอร์พาย ได้มีการอัพเกรดประสิทธิภาพ จนมีความสามารถเที่ยบเท่าคอมพิวเตอร์จิ๋วเครื่องหนึ่งได้เลย

ซึ่งแน่นอนประสิทธิภาพอาจไม่มากมาย แต่สำหรับนักประดิษฐ์ทั้งหลาย ได้นำราสเบอร์รี่พาย ไปเป็นส่วนหนึ่งของงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแผงควบคุมอิเลคทรอนิค หรือบางคนประยุกต์ไปทำเป็นโทรศัพท์ก็มี เพราะตัวราสเบอร์พายเอง ก็มีช่องเชื่อมต่อให้เราเลือกใช้เยอะไม่ว่าจะเป็น USB, microUSB, HDMI port

ในวงการขุดบิทคอยน์นั้น โดยส่วนก็จะนำมาเป็นตัวควบคุมเครื่องเอาไว้ขุดบิทคอยน์อีกที เพราะด้วยตัวมันเล็ก การใช้กระแสไฟฟ้าน้อย เมื่อเทียบกับการใช้คอมพิวเตอร์มาควบคุมเครื่องขุด มันจึงคุ้มกว่ามากๆ


และในปัจจุบัน ก็มีคนนำ ราสเบอร์รี่พายมาใช้ขุดบิทคอยน์ โดยดยเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพ โดยรวมคงสู้กับเครื่องขุดบิทคอยน์โดยเฉพาะไม่ได้ แต่ถ้าใครอยากลองก็เข้าไปติดตามได้ที่ Hackster.io

 

การนำ RPi มาทำเป็น Media Center  

ทำ TV ธรรมดาเป็น Smart TV  ดูหนัง เล่น Youtube ฟังวิทยุออนไลน์ ท่องเน็ต  โหลด Bit Torrent มาดู  เช็คสภาพอากาศ มี Application ให้โหลด

เริ่มจากอุปกรณ์ที่ต้องใช้

  • Raspberry Pi Model B  (RPi )
  • Keyboard และ Mouse
  • Wireless Dongle  (แนะนำให้ซื้อจากร้านที่ขาย RPi จะมีรุ่นที่ทำงานได้กับ RPi บางรุ่นก็ใช้งานกันไม่ได้เลย)
  • SD Card อย่างน้อย 4 GB Class 4  (แนะนำ 8 GB Class 10)
  • USB Hub ทีสามารถจ่ายไฟเลี้ยงแยกได้  (ต้องใช้เพราะ RPi ขับกระแสได้น้อยเวลาใช้อุปกรณ์หลายตัวแล้วจะรวน)
  • จอทีวีที่มี AV ก็ได้ หรือ มี HDMI ยิ่งดี   หรือจะเป็นจอคอมพิวเตอร์ก็ได้
  • ลำโพง (ถ้าจอไม่มีลำโพงในตัว)
  • Adaptor ขนาด 5 วัตต์ขึ้นไป ขนาดเล็กกว่านั้นเกิดปัญหาเวลาใช้งาน ไฟจะตก เปิดติดบ้างไม่ติดบ้าง  ติดๆดับๆ

ที่เห็นในภาพข้าง keyboard ด้านซ้ายคือ ตัวแปลง HDMI เป็น VGA  ใช้ในกรณีที่ไม่มีจอ LCD แบบ HDMI  มีแต่หัวที่เป็น VGA จึงต้องใตัวอุปกรณ์แปลงมาเสียบ  ข้างในจะมี Chip ในการแปลงสัญญาณ

ขั้นตอนการติดตั้ง

Media Center ที่แนะนำให้ใช้กับ RPi ที่มีขายที่ร้าน Arduitronics ซึ่งเป็นของแท้จาก Element14 ก็คือ  OPenELEC (Open Embedded Linux Entertainment Center)  

เริ่มต้นจากการเสียบอุปกรณ์ตามตัวอย่างในรูป ยกเว้น SD Card ที่ต้องติดตั้งโปรแกรมก่อน สิงที่ต้องระวังคือ เสียบอุปกรณ์ ต้องใช้ USB Hub แบบที่มี Supply แยกกัน USB Port ของ RPi ขับได้ตัวสองตัวเท่านั้น  แล้วอาการจะออกก็คือมัน Hang บ้าง หรือ Reboot ตัวเองบ้าง

เสียบอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไป ไป Download

1. ต้อง Format SD Card แล้วจัดการเรื่อง memory ภายในให้ OS สามารถมองเห็นได้ตามขนาดจริงของ SD Card แนะนำให้ใช้ SD Formatter ตามนี้จัดการ *** ระวัง ตอน Format อย่าเลือก Drive ผิดเด็ดขาด ***    

หมายเหตุ  การใช้คลิ๊กขวาแล้ว Format SD card ที่ให้มากับ Windows ปรากฎว่าใช้ไม่ได้ แผ่น SD จะมองเห็นไม่ครบ ต้องใช้โปรแกรม SD Formatter ที่แนะนำ

 

2. Download Disk Imaging Software  ที URL : http://sourceforge.net/projects/win32diskimager/ และติดตั้งใน folder ใดก็ได้ที่พร้อมจะเรียกใช้งาน   โปรแกรมนี้ทำหน้าที่แปลง Image ไฟล์ (.img) เป็นไฟล์ที่ RPi สามารถ Boot เครื่องได้ ต้องใช้โปรแกรมนี้เพราะไฟล์ที่เรากำลังจะ Download มามันจะเป็น Zip ไฟล์ ที่พอเรา Unzip แล้วจะเป็น Image ไฟล์อีกที

3.โหลดมาแล้ว Unzip ไว้ใน Folder ที่พร้อมเรียกใช้  จากนั้นเปิดโปรแกรม Disk Image ที่เพิ่งติดตั้ง  แล้วเรียกหา Image file ที่เพิ่ง Unzip  จากนั้นเรียก Drive ที่เสียบ SD Card ไว้ ตามรูปด้านล่าง เลือก Write และรอจนเสร็จสิ้น

4.  เสร็จแล้วก็ถอด SD Card ออกจากคอมพิวเตอร์ได้เลย เอาไปเสียบที่ RPi แทน

 

จากนั้นก็เริ่มจ่ายแรงดันไฟฟ้าเข้าที่ RPi จะเห็นว่ามีไฟสีแดง (PWR) ขึ้นที่ตัว RPi รอซักพักจะมีสีส้มขึ้นที่ ACT ซึ่งหมายถึง RPi กำลังอ่านข้อมูลจาก SD Card  ซักอึดใจนึงมันจะเริ่มเข้าไปที่ต้ว OpenELEC  จอที่เสียบไว้จะเริ่มติดถ้าใช้ Wireless Dongle   ระบบจะถาม SSID และ Password  กรอกข้อมูลโดยใช้ mouse คลิ๊กเลือก แล้วคลิกที่ Done หรือจะใช้ Keyboard ก็ได้

เสร็จแล้วหน้าจอแรกๆ ก็จะแสดงผลเบบนี้  OpenELEC จะแนะนำการใช้งานเบื้องต้นให้สำหรัรบผู้ใช้ใหม่

 เมื่อเสร็จขั้นตอนการลงโปรแกรมก็จะเห็นหน้าจอแสดงผลตามภาพข้างล่างนี้


วิธีที่จะตรวจสอบได้ง่ายๆ ว่าระบบได้ต่อเข้ากับ Internet ได้หรือไม่นั้นก็ให้ไปดูที่ Weather ถ้าสามารถ   Update สภาพอากาศได้ก็แสดงว่าต่อผ่านเรียบร้อย

ผ่านสองภาพบนนี้ไปได้ก็เรียบร้อยแสดงว่าการติดตั้งเสร็จสมบูรณ์แล้ว  ที่เหลือก็คือการ Update โปรแกรม การตั้งค่าเริ่มต้นสำหรับภาษาไทย และการใช้งานโปรแกรม การติดตั้ง App เพิ่ม


Designed by 2Lt.Chutchavan Suksutthi