พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ เอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย เฝ้าฯ ถวายอักษรสาส์นตราตั้ง

 โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่ง “รัชกาลที่ ๑๐” พัฒนาชีวิตชาวค้อเหนือ

 พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ เอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย เฝ้าฯ ถวายพระราชสาส์นตราตั้ง และอักษรสาส์นตราตั้ง

 เรื่องเล่าข้างโต๊ะทรงงาน

 โครงการพัฒนาเกษตรที่สูง ณ บ้านห้วยตอง และโครงการเกษตรหลวงพัฒนาชาวเขา ณ หมู่บ้านหนองเต่า

 พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย (ตอนที่ ๙) : ทฤษฏีใหม่ (๔/๔)

 เสด็จเป็นประธานพิธีเปิดตัวหนังสือ “เดอะ ปริ๊นเซส ด็อก ไดอารี่ 2 : บันทึกคุณน้ำหอม สุนัขทรงเลี้ยงของเจ้าหญิง”

 พระราชินี พระราชทานสัมภาษณ์ แก่กลุ่มนักข่าวหญิง

 โครงการหลวงแม่ลาน้อย

 (ทูลถาม) เวลาเสด็จไปท่ามกลาง ปชช. ที่เป็นโรคต่างๆ มีวิธีป้องกันตัวอย่างไร ไม่ทรงกลัวติดโรคหรือเพราะเห็นราษฎรจับพระหัตถ์

กิจกรรมเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
หน้า  130  คลิ๊กหมายเลขหน้า เพื่อไปยังหน้าที่ท่านต้องการ
126127128129130131132133134

ภาพกิจกรรมพระราชกรณียกิจ ทั้งหมด

     โครงการหลวงแม่ลาน้อย
     “พลิกฟื้นป่าไม้ แหล่งต้นน้ำลำธาร ส่งเสริมการปลูกพืชเชิงอนุรักษ์โดยใช้หญ้าแฝก”

     พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรบ้านห้วยห้อมเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔ สภาพพื้นที่โดยรอบมีการตัดไม้ทำลายป่า และปลูกฝิ่นแปลงใหญ่ พระองค์จึงเข้าใจถึงปัญหาต่าง ๆ ในพื้นที่ หลังจากนั้นเสด็จพระราชดำเนินมาที่บ้านห้วยห้อมอีกหลายครั้ง จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๒๒ นายบุญสม แก่นเจิง ผู้ใหญ่บ้าน ณ ขณะนั้นได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายฎีกาขอให้มีศูนย์พัฒนาโครงการหลวงในพื้นที่ จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ช่วยพัฒนาอาชีพด้านเกษตรกรรม การศึกษา และการสาธารณสุข และในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ลาน้อยขึ้นสำเร็จ

     เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็ฺจพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโครงการขยายพันธ์หญ้าแฝก และส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และทรงเยี่ยมราษฎร ณ โครงการหลวงแม่ลาน้อย บ้านดง ตำบลห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนครั้งนั้น ทรงมีพระราชดำริความว่า

     “ผิวดินบนไหล่เขาเกือบทุกแห่งถูกน้ำเซาะทำลายในอัตราค่อนข้างสูง การปลูกแฝกจึงสำคัญมาก แต่หญ้าแฝกยังมีปริมาณไม่เพียงพอ จึงต้องรีบขยายพันธุ์โดยเร่งด่วน ทั้งนี้ต้องรีบให้ราษฎรรีบปลูกก่อนฤดูฝน โดยทำนุบำรุงด้วยการเสริมน้ำเป็นพิเศษ ต่อเมื่อฤดูฝนเข้ามาหญ้าแฝกก็จะตั้งตัวได้พอดี มิฉะนั้นหากเริ่มปลูกตอนต้นฝน ก็อาจถูกฝนซะเสียหายได้ เนื่องจากรากยังไม่หยั่งลึกเพียงพอ”

     จากพระราชดำริดังกล่าว ได้นำมาใช้เป็นแนวทางในการเกษตรของชาวบ้านในเขตพื้นที่สูง เริ่มต้นจากการปลูกแฝกตามแนวคันดินแปลงกะหล่ำปลีลดการพังทลายของหน้าดิน เมื่อที่ดินทำกินมั่นคงก็ไม่มีการย้ายถิ่นฐาน ลดการบุกรุกแผ้วทางป่าเพื่อหาแหล่งปลูกพืชใหม่ สร้างสมดุลระหว่างชาวบ้าน และธรรมชาติได้เป็นอย่างดี







ติดตามข่าวสารและกิจกรรมเทิดทูนสถาบันได้ที่
Website : http://www.phralan.in.th
Facebook: https://www.facebook.com/phralanofficial/