พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานอุปกรณ์การแพทย์เพิ่มเติม ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 122 ล้านบาท ช่วยคนไทยสู้ภัยโควิด

 เรื่องเล่าข้างโต๊ะทรงงาน

 ทรงพระเจริญ

 มููลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระราชูปถัมภ์ เชิญผ้าห่มกันหนาวพระราชทาน มอบให้ผู้ประสบภัยหนาวในพื้นที่จังหวัดเชียงราย

 พระราชทานถุงยังชีพแก่ราษฎรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดปัตตานี และยะลา

 พระราชทานสัมภาษณ์เกี่ยวกับความเรียบง่ายของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓

 หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ตอนที่ ๑๘) : พออยู่พอกิน

 สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี.

 “พระราชา” และ “ประชาชน” ย่อมพึ่งพาอาศัยกัน

 ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ “พื้นที่ห่างไกล แวดล้อมด้วยป่าสนเขา ณ อำเภอกัลยาณิวัฒนา”

กิจกรรมเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
หน้า  149  คลิ๊กหมายเลขหน้า เพื่อไปยังหน้าที่ท่านต้องการ
145146147148149150151152153

ภาพกิจกรรมพระราชกรณียกิจ ทั้งหมด

     “พระราชา” และ “ประชาชน” ย่อมพึ่งพาอาศัยกัน
     คำว่า “ราชประชาสมาสัย” มาจาก ราช + ประชา + สมาสัย
คำว่า “ราช” แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน, พระมหากษัตริย์
คำว่า “ประชา” แปลว่า ปวงประชา, ประชาชน
คำว่า “สมาสัย” เกิดจาก สม + อาศัย
โดยคำว่า “สม” แปลว่า ร่วมด้วยกัน รวมกัน
และคำว่า “อาศัย” แปลว่า พักพิง, พึ่งพิง, พึ่งพา
“สมาสัย” จึงแปลว่า พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

     ความหมายโดยรวมของ “ราชประชาสมาสัย” จึงหมายถึง “สถาบันพระมหากษัตริย์” และ “ประชาชน” ย่อมพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
     เราทุกคนจะเห็นว่า ในหลวง รัชกาลที่ ๙ ให้ความสำคัญกับเรื่อง “ดิน” และ “น้ำ” เป็นพิเศษ ด้วยพระราชหฤทัยห่วงใยราษฎร จึงทรงตั้งพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำเป็นลำดับแรกอย่างมากมายพระราชทานพระราชดำรัสเสมอว่า “น้ำคือชีวิต”และยังทรงเห็นว่า “ดิน” เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการสร้างสมดุลให้สภาพแวดล้อม จึงทรงให้ความสำคัญกับดินเช่นเดียวกับน้ำ

     ดังนั้น “พระราชกรณียกิจ” ของสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นการเติมส่วนที่ขาดไปของประชาชนก็เท่านั้น ไม่ได้หมายความว่า “พระราชกรณียกิจ” จะครอบคลุมและแก้ปัญหาทุกอย่างในประเทศได้ เพราะหน้าที่นั้นเป็นของ “รัฐบาล” ที่มีหน้าที่รับผิดชอบความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิต สวัสดิการ ของประชาชนโดยตรง เพราะหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี ๒๔๗๕ คนบริหารประเทศมิใช่ “พระมหากษัตริย์” แต่อย่างใด











ติดตามข่าวสารและกิจกรรมเทิดทูนสถาบันได้ที่
Website : http://www.phralan.in.th
Facebook: https://www.facebook.com/phralanofficial/