ทรงเปิดงานนําเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ หรือ Thailand International Science Fair 2023 (TISF2023)

 ฉลองพระองค์ผ้าไหมแพรววาลายจก ลายนาคหัวซ้อง ใบบุ่นอุ้มดาว ดอกอ้อมลายสัตว์

 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงมีพระราชปณิธานแน่วแน่ที่จะสืบสาน รักษา และต่อยอดงานโครงการหลวงให้มีความต่อเนื่อง ยั่งยืน

 ในหลวงทรงโบกพระหัตถ์ทักทายชาวชาวไทยภูเขา ที่ได้ประโยชน์จากโครงการหลวงเลอตอ ผ่านอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์

 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

 โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านสบขุ่น ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จออก ณ วังสระปทุม

 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งข้อความพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยไปยังประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอาหรับซีเรีย กรณีเกิดแผ่นดินไหวที่เมืองอะเลปโป

 พระอัจฉริยภาพในด้านนักประดิษฐ์ เกิดเป็นกังหันน้ำชัยพัฒนา

 ันนี้ในอดีต- 9 ก.พ.2528 ในหลวง ร.๑๐ ทรงเยี่ยมราษฎร และ สมาชิกศิลปาชีพพิเศษ อ.สอง จ.แพร่

กิจกรรมเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
หน้า  21  คลิ๊กหมายเลขหน้า เพื่อไปยังหน้าที่ท่านต้องการ
171819202122232425

ภาพกิจกรรมพระราชกรณียกิจ ทั้งหมด

     โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านสบขุ่น ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
     เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2547 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดําเนิน ไปทอดพระเนตร พื้นที่แหล่งกําเนิดต้นน้ำลําน้ำคาง บ้านสบขุ่น ตําบลป่าคา อําเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นลุ่มน้ำย่อยของแม่น้ำยมตอนบน อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ “ป่าน้ำยาว-น้ำสวด” จุดที่เสด็จฯ ทอดพระเนตร มีความสูง 860 เมตร พื้นที่ประมาณ 12,500 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง ได้ถูกบุกรุกแผ้ว ถางจากการทําไร่เลื่อนลอยของราษฎร ทําให้พื้นที่ต้นน้ําลําน้ําคาง ได้รับความเสียหายจํานวนมากราษฎร ทำให้ประชาชนจากหมู่บ้านสบขุ่น หมู่ที่่ 7 ตําบลป่าคา และประชาชนบ้านดอยติ้ว หมู่ที่ 7 ตำบลศรีภูมิ อําเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน และหมู่บ้านอื่น ๆ ได้ตระหนักถึงความเสียหายที่เกิดจากการบุกรุกทำลายป่า ทำไร่เลื่อนลอย เกรงว่าจะเกิดปัญหาไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินเลื่อนไหลลงมาถล่มหมู่บ้าน ภัยแล้ง จึงได้ขอพระราชทานความช่วยเหลือ ซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เชิญเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้นำชุมชนมาร่วมปรึกษาหารือในการแก้ปัญหาที่ประชุมมีความเห็นว่าสมควรจัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงขึ้น โดยมุ่งเน้นให้คนอยู่คู่กับป่าไม้ได้อย่างยั่งยืน แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 มิติ คือ มิติด้านทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์ป้องกันการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่า ปลูกฟื้นฟูบำรุงรักษาระบบนิเวศป่าต้นน้ำ และมิติด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตดำเนินการพัฒนาระบบน้ำเพื่อการเกษตร

ปัจจุบันระบบนิเวศป่าต้นน้ำกลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง ส่งผลให้ป่ามีความหลากหลายทางชีวภาพจึงเป็นแหล่งอาหาร และไม้ใช้สอยให้แก่ชุมชนในพื้นที่จำนวน 10,620 ไร่ ราษฎรมีแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคจากป่าที่ได้รับการฟื้นฟู อีกทั้ง พืชอาหาร เช่น ต๋าว สามารถให้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นก่อเกิดความอยู่ดี กินดี ให้แก่ราษฎรได้อย่างยั่งยืนเสมอมา



ติดตามข่าวสารและกิจกรรมเทิดทูนสถาบันได้ที่
Website : http://www.phralan.in.th
Facebook: https://www.facebook.com/phralanofficial/