เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฏีใหม่

 พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออกพระที่นั่งอนันตสมาคม ประทับพระราชบัลลังก์บนพระแท่นมนังคศิลาอาสน์จำลอง

 สารคดีเชิงข่าว ชุด สืบสาน สร้างสุขปวงประชา ตอน โครงการอ่างเก็บน้ำคลองป่าบอนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดนิทรรศการ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “สืบมรรคาทัศนาทั่วไทย”ณ หอศิลวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

 สารคดีเชิงข่าว สืบสาน สร้างสุข ปวงประชา : ของขวัญ พระราชทาน

  เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงานกาชาดประจำปี ๒๕๖๕ ภายใต้แนวคิด "๙ ทศวรรษใต้ร่มพระบารมี สดุดีสภานายิกาสภากาชาดไทย" ณ สวนลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

 สารคดีเชิงข่าว สืบสาน สร้างสุข ปวงประชา : สานความสุข

 ไปทรงเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสภากาชาดไทย ครั้งที่ ๓๔๗

 สารคดีเฉลิมพระเกียรติ ชุด ร้อยไทยด้วยดวงใจ ตอนชีวิตกับคำว่าพอเพียง

 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2538 เกิดฝนตกหนักจากอิทธิพลของพายุโอลิส ส่งผลให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา (วัดที่สะพานพระพุทธยอดฟ้า) สูงถึง 2.27 เมตร จากระดับน้ำทะเล

กิจกรรมเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
หน้า  33  คลิ๊กหมายเลขหน้า เพื่อไปยังหน้าที่ท่านต้องการ
293031323334353637

ภาพกิจกรรมพระราชกรณียกิจ ทั้งหมด

     ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2538 เกิดฝนตกหนักจากอิทธิพลของพายุโอลิส ส่งผลให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา (วัดที่สะพานพระพุทธยอดฟ้า) สูงถึง 2.27 เมตร จากระดับน้ำทะเล
     “ฉันอยากไปช่วยหรือชี้แจงให้พวกเขาเข้าใจ แต่กลัวคนอื่นจะว่าฉันซ่า” #พระดำรัสแรกเริ่มอันเป็นจุดกำเนิดมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่งภาฯ

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2538 เกิดฝนตกหนักจากอิทธิพลของพายุโอลิส ส่งผลให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา (วัดที่สะพานพระพุทธยอดฟ้า) สูงถึง 2.27 เมตร จากระดับน้ำทะเล น้ำได้ล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนริมสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพมหานครล้นทะลักจนทำให้น้ำท่วมถนนสายสำคัญ โดยเฉพาะในเขตธนบุรี เขตคลองสาน และเขตบางพลัด เป็นระยะเวลาถึง 2 เดือน ก่อเกิดปัญหาการจราจร เจ้าหน้าที่ของรัฐจึงนำกระสอบทรายมาทำเป็นแนวกำแพงกั้นน้ำ เพื่อป้องกันน้ำทะลักเข้ามาท่วมถนน

ทว่า การป้องกันน้ำให้ท่วมในวงจำกัดเสมือนเป็นการกักน้ำเพื่อซ้ำเติมผู้ประสบภัยน้ำท่วมให้ได้รับความยากลำบาก ขณะที่พื้นที่ติดกัน ประชาชนที่ไม่ถูกน้ำท่วมสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ผู้ประสบภัยน้ำท่วมจึงรู้สึกขาดที่พึ่ง ขาดความเห็นอกเห็นใจ และเกิดความเครียด เพราะน้ำยิ่งท่วมสูงมากขึ้น ในที่สุดผู้ประสบอุทกภัยก็ออกมารื้อกระสอบทรายแนวกำแพงกั้นน้ำ ทำให้น้ำทะลักเข้ามาท่วมถนน เกิดการโต้เถียง ยื้อแย่งกระสอบทราย กลายเป็นการทะเลาะวิวาท

กระทั่งวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2538 ขณะที่ข่าวเจ้าหน้าที่เผชิญหน้ากับประชาชนในเหตุการณ์น้ำท่วมแพร่ภาพทางโทรทัศน์ “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดีฯ” (ครั้งดำรงพระอิสสริยยศเป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา) ทอดพระเนตรอยู่ พระองค์จึงทรงมีรับสั่งว่า “ฉันอยากไปช่วยหรือชี้แจงให้พวกเขาเข้าใจ แต่กลัวคนอื่นจะว่าฉันซ่า” #ทรงตัดสินพระทัยว่าจะต้องเสด็จไปเยี่ยมราษฎรด้วยพระองค์เอง และในคืนนั้นไม่มีใครคาดคิดว่า “องค์ภา” จะเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ไปเฝ้า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน #เพื่อกราบบังคมทูลขอพระราชทานคำแนะนำและพระบรมราโชบายเกี่ยวกับเรื่องน้ำท่วมและการป้องกัน รวมทั้งขอพระราชทานคำปรึกษาเรื่องการปฏิบัติพระองค์และการพูดคุยกับราษฎรที่กำลังอยู่ในภาวะเครียด

และในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2538 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ “พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยา” #เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเยี่ยมราษฎรที่ประสบภัยน้ำท่วม พระองค์ทรงออกไปรับน้ำใจของประชาชนที่ไม่ถูกน้ำท่วม แล้วนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมแบบ #เพื่อนพึ่งพาซึ่งกันและกัน

และนี่คือ #ที่มาของโครงการอาสา “เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก” ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดีฯ ร่วมกับกองอาสากาชาด สภากาชาดไทย (ปัจจุบัน คือ สำนักงานอาสากาชาด สภากาชาดไทย) #มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนพึ่งพากันในยามยาก เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรมอันดีงามของไทยในลักษณะของอาสาบำเพ็ญประโยชน์ การออกปฏิบัติพระกรณียกิจในครั้งนั้นส่งผลให้เหตุการณ์สงบลง จากนั้นมาโครงการฯ ก็ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จนได้จัดตั้งเป็นมูลนิธิที่ผู้บริจาคสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ต่อเนื่องเรื่อยมา





ติดตามข่าวสารและกิจกรรมเทิดทูนสถาบันได้ที่
Website : http://www.phralan.in.th
Facebook: https://www.facebook.com/phralanofficial/