คิดดี ทำดี รักดี เพราะเชื่อมั่นในความดี กับสามนักเรียนดีทุนพระราชทาน

 เสด็จทรงเปิดงานเปิดตัว “หนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย เล่มที่ 3”

  “สวนลุมพินี” ให้เป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของสยาม

 สารคดีเชิงข่าว ชุด ประโยชน์สุขปวงประชา ตอน โครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา

 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ พันเอกเจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสงชูโต) หรือ "พระนายไวย" ยกกองทัพไปปราบฮ่อ ณ หัวเมืองหลวงพระบาง

 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จออก ณ วังสระปทุม

 นที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธานคณะกรรมการตัดสินการประกวดผ้าลายพระราชทาน

 ฟาร์มตัวอย่างหนองหมากเฒ่า จ. สกลนคร ฟาร์มตัวอย่างที่พลิกฟื้นของชีวิตเกษตรกร

 นวนิยายเพื่อชาติศาสน์กษัตริย์ ความฝันอันสูงสุดตอนที่ ๓๑ "เมื่อหมอกเมฆจางหาย" โดย ดร.สุวิจักขณ์ ภานุสรณ์ฐากูร

กิจกรรมเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
หน้า  40  คลิ๊กหมายเลขหน้า เพื่อไปยังหน้าที่ท่านต้องการ
363738394041424344

ภาพกิจกรรมพระราชกรณียกิจ ทั้งหมด

      “สวนลุมพินี” ให้เป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของสยาม
     ที่มาของชื่อ สวนลุมพินี . “ที่นี่ต้องให้เป็นวนะสาธารณะอย่างเดียว จะไปทําอื่นไม่ได้ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากฉันและกุลทายาทต่อ ๆ ไปเท่านั้น” พระราชกระแสรับสั่งตอนหนึ่งในพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ในการพระราชทานโฉนดที่ดิน “สวนลุมพินี” ให้เป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของสยาม . เหตุใดสวนสาธารณะพระราชทานที่ใหญ่ที่สุดใจกลางกรุงเทพมหานคร จึงมีชื่อว่า “สวนลุมพินี” วันนี้เพจน้ำเงินเข้มมีคำตอบมาเฉลยกัน . เดิมทีนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ จำนวน 360 ไร่ บริเวณตำบลศาลาแดง ที่เหลือจากที่ได้แบ่งเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปแล้ว โดยที่ดินแห่งนี้มีพื้นที่ครอบคลุมด้านทิศเหนือ ติดถนนสารสิน , ด้านทิศใต้ ติดถนนพระรามที่ 4 , ด้านทิศตะวันออก ติดถนนวิทยุ และด้านทิศตะวันตก ติดถนนราชดำริ เพื่อจัดงานเอ็กซ์โปอย่างนานาชาติ โดยพระราชทานชื่องานว่า “งานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์” เพื่อเฉลิมฉลองการครองราชสมบัติครบ 15 ปี รวมทั้งเพื่อจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ โดยมีพระราชประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศหลังจากเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกจากภาวะหลังสงครามโลกครั้งที่ 1โดยทรงสละพระราชทรัพย์เป็นทุนประเดิมในการเตรียมสถานที่ ครั้งนั้นมีการขุดสระกว้าง สร้างเกาะลอยกลางน้ำ ตัดถนน และสร้างถาวรวัตถุ เช่น หอนาฬิกา ตึกแบบกรีกไว้ด้วย แต่งานยังไม่ทันได้เปิด ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน งานจึงถูกยกเลิกไปโดยปริยาย . นอกจากนี้ทรงมีพระราชประสงค์แต่เดิมว่า เมื่อการจัดงานเอ็กซ์โปเสร็จสิ้นแล้ว จะทรงยกที่ดินการจัดงานนี้ให้เป็นสวนสาธารณะเพื่อเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจแก่ประชาชน และพระราชทานนาม สวนสาธารณะแห่งนี้ว่า “ลุมพินี” ไว้ตามแบบชื่อของตําบลหนึ่งในประเทศเนปาลอันเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า นั่นคือ “ลุมพินีวัน” . หลังจากนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ทรงขึ้นเสวยราชสมบัติ จึงทรงรื้อฟื้นโครงการสวนสาธารณะตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบรมเชษฐาอีกครั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2471 ดังที่มีพระราชกระแสในการพระราชทานโฉนดที่ดินสวนลุมพินี ความตอนหนึ่งว่า . “ที่นี่ต้องให้เป็นวนะสาธารณะอย่างเดียว จะไปทําอื่นไม่ได้ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากฉันและกุลทายาทต่อๆ ไปเท่านั้น” . โดยทรงเปิดพื้นที่ประมาณ 270 ไร่ ให้ประชาชนได้เข้าใช้เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงเคยมีแต่เดิม และที่เหลืออีกประมาณ 90 ไร่ด้านใต้ของสวนลุมพินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระยาคทาธรธิบดีสีหราชบาลเมือง หรือนายเทียบ อัศวรักษ์ เช่าที่ดินจัดเป็นวนเริงรมย์ สามารถเปิดการแสดงมหรสพ ออกร้านขายของขายอาหาร มีเครื่องเล่นสําหรับเด็ก อาทิ กระเช้าสวรรค์ ม้าหมุน โดยทรงนําเงินที่ได้จากค่าเช่านี้มาปรับปรุงและบำรุงที่ดินต่อไป . ในปี พ.ศ. 2485 เพื่อเป็นการรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลในสมัยนั้นจึงจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐาน ณ ด้านหน้าของสวนลุมพินี ตราบจนถึงปัจจุบัน .







ติดตามข่าวสารและกิจกรรมเทิดทูนสถาบันได้ที่
Website : http://www.phralan.in.th
Facebook: https://www.facebook.com/phralanofficial/