คำว่า ราชประชาสมาสัย มาจาก ราช + ประชา + สมาสัย
คำว่า ราช แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน, พระมหากษัตริย์
คำว่า ประชา แปลว่า ปวงประชา, ประชาชน
คำว่า สมาสัย เกิดจาก สม + อาศัย
โดยคำว่า สม แปลว่า ร่วมด้วยกัน รวมกัน
และคำว่า อาศัย แปลว่า พักพิง, พึ่งพิง, พึ่งพา
สมาสัย จึงแปลว่า พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
ความหมายโดยรวมของ ราชประชาสมาสัย จึงหมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ และ ประชาชน ย่อมพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
เราทุกคนจะเห็นว่า ในหลวง รัชกาลที่ ๙ ให้ความสำคัญกับเรื่อง ดิน และ น้ำ เป็นพิเศษ ด้วยพระราชหฤทัยห่วงใยราษฎร จึงทรงตั้งพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำเป็นลำดับแรกอย่างมากมายพระราชทานพระราชดำรัสเสมอว่า น้ำคือชีวิตและยังทรงเห็นว่า ดิน เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการสร้างสมดุลให้สภาพแวดล้อม จึงทรงให้ความสำคัญกับดินเช่นเดียวกับน้ำ
ดังนั้น พระราชกรณียกิจ ของสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นการเติมส่วนที่ขาดไปของประชาชนก็เท่านั้น ไม่ได้หมายความว่า พระราชกรณียกิจ จะครอบคลุมและแก้ปัญหาทุกอย่างในประเทศได้ เพราะหน้าที่นั้นเป็นของ รัฐบาล ที่มีหน้าที่รับผิดชอบความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิต สวัสดิการ ของประชาชนโดยตรง เพราะหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี ๒๔๗๕ คนบริหารประเทศมิใช่ พระมหากษัตริย์ แต่อย่างใด
|