|
5 มิถุนายน 2489 ที่มาของวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ |
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ ๘) เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ (รัชกาลที่ ๙) ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นพระราชอนุชา ทั้ง2พระองค์เสด็จฯทอดพระเนตรการทำนาที่อำเภอบางเขน และทอดพระเนตรกิจการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งยังได้ทรงหว่านข้าวด้วยพระองค์เองในแปลงนา นับเป็นภาพความทรงจำถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานความห่วงใยต่ออาชีพชาวนาไทยและทรงเล็งเห็นความสำคัญของข้าวไทย
ดังนั้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2552 ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ รวมถึงคณะรัฐมนตรี จึงได้ให้ความเห็นชอบ ในการกำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีเป็น วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ โดยให้แยกออกจากวันพระราชพิธีพืชมงคล ที่หมายรวมถึงอาชีพการทำไร่ การทำสวน
...พระราชกรณียกิจมากมายตลอด 70 ปีของรัชกาลที่ 9 ล้วนเป็นพระราชปณิธานร่วมกันของทั้ง 2 พระองค์ที่ทรงเคยมุ่งหวังจะนำความรู้ และสนับสนุนในเทคโนลียี วิทยาการสมัยใหม่ มาใช้ผลักดันความเจริญด้านต่างๆเพื่อประโยชน์สุขของราษฎร ที่กำลังประสบกับภาวะข้าวยากหมากแพงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
โดยที่พระองค์เองก็ทรงไม่คาดคิดว่า อีกเพียง 4 วันนับจากวันนี้เมื่อ 75 ปีก่อน พระราชภารกิจที่ทั้ง 2 พระองค์ทรงมุ่งหวังจะทำร่วมกันนั้น กลายเป็นภารกิจอันหนักอึ้ง ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงสืบสานทำงานอย่างหนัก ในอีก 70 ปีต่อมา
#โรงเรียนจิตอาสาพระราชทาน
#จิตอาสา904
#วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ
|
|
จำนวนภาพ 4 ภาพ |
|
บันทึกเมื่อ 6/21/2564 ภาพ |
|
ภาพกิจกรรม พระราชกรณียกิจ |
|
|
|