|
พระมหากรุณาธิคุณด้านการศึกษา (ตอนที่ ๔) : ทุนเล่าเรียนหลวง (Kings Scholarship) |
ทุนเล่าเรียนหลวงเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยพระราชปณิธานที่จะพระราชทานโอกาสทางการศึกษาแก่ราษฎรทุกหมู่เหล่าโดยไม่จำกัดชนชั้น เพื่อให้ไปศึกษาต่อยังต่างประเทศแล้วนำความรู้กลับมาพัฒนาบ้านเมือง จึงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อให้เป็นทุนการศึกษา ต่อมาในพ.ศ. ๒๔๗๕ ได้ยุติทุนนี้ไปเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
เมื่อพ.ศ. ๒๕๐๘ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชประสงค์ที่จะฟื้นฟูทุนเล่าเรียนหลวงพร้อมทั้งปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัย คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาลงมติสนองพระราชปรารภให้รื้อฟื้นการให้ทุนเล่าเรียนหลวงขึ้นใหม่ โดยทุนเล่าเรียนหลวงนี้เป็นทุนแบบให้เปล่า ไม่มีข้อผูกพันว่าผู้รับทุนจะต้องกลับมารับราชการ มีเพียงข้อกำหนดว่าให้ผู้รับทุนเดินทางกลับมาทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ
นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงให้ความสำคัญกับการศึกษา ดังความในพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งที่ว่า ...ประเทศชาติของเราจะเจริญหรือเสื่อมลงนั้นย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชน...
#พระมหากรุณาธิคุณด้านการศึกษา
#ทุนเล่าเรียนหลวง
#KingsScholarship
#พระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร
|
|
จำนวนภาพ 1 ภาพ |
|
บันทึกเมื่อ 13/2/2565 ภาพ |
|
ภาพกิจกรรม พระราชกรณียกิจ |
|
|
|