|
วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้ง เพื่อให้ถูกต้องและเหมาะสมตาม ปีใหม่สากล |
ในสมัยโบราณเริ่มแรกเราถือว่า วันแรม 1 ค่ำเดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับเดือนมกราคม โดยยึดตามปฏิทินจันทคตด อันต้องด้วยในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งถือเหมันตฤดูเป็นการเริ่มต้นปี
ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงวันขึ้นปีใหม่ เราได้นับถือคติของพราหมณ์ คือ ใช้วันที่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
ในปี พ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 เมษายน เนื่องจากทางราชการได้นิยมใช้หลักทางสุริยคติ แต่ก็ยังคล้องต้องตามคติพราหมณ์อยู่นั่นเอง เพราะเดือน 5 ก็ตรงกับเดือนเมษายนเรื่อยมา
ในปี 2483 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และให้ใช้วันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่ โดยเริ่มครั้งแรกในวันที่ 1 มกราคม 2484 มาจนถึงปัจจุบันเพื่อให้สอดคล้องกับปฏิทินของนานาประเทศ และการเข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศที่เจริญแล้วทั่วโลก
ในปี พ.ศ. 2494 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495 บทเพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ เปรียบเสมือนของขวัญที่พระองค์ส่งมอบให้กับทุกคนเพื่อขับกล่อม ส่งมอบความปรารถนาดี และให้มีความสุขให้กันและกันตลอดไป
|
|
จำนวนภาพ 3 ภาพ |
|
บันทึกเมื่อ 1/5/2566 ภาพ |
|
ภาพกิจกรรม พระราชกรณียกิจ |
|
|
|