|
อัน " ธงไตรรงค์ " นี้ ยังเป็นภาพพจน์แห่งความสามัคคี และความเป็นปึกแผ่นของคนไทย มาตลอดสงครามโลกครั้งที่ 2 ตราบถึงทุกวันนี้ |
การที่ผู้นำรัฐบาลเป็นนักการทหาร แล้วสดุดีพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นจอมทัพ ย่อมเป็นขวัญและกำลังใจต่อคนในชาติ และภาพลักษณ์ของบ้านเมือง สำหรับชาวต่างชาติที่มองเมืองไทย เมื่อ 84 ปีที่แล้ว
คำปรารภตอนหนึ่งของท่านนายกรัฐมนตรี ( จอมพล ป .พิบูลสงคราม ) เมื่อ พ.ศ 2482 ทำให้เราเห็นจิตใต้สำนึกของคนไทยในยุคนั้น ท่านกล่าวว่า :
" แต่พระราชกรณียกิจที่เป็นคุณประโยชน์อันใหญ่หลวงแก่ประเทศชาติ และที่จะเป็น " อนุสาวรีย์ถาวร " เชิดชูพระเกียรติคุณพระองค์ท่าน ก็คือการปลุกชาติ เพื่อให้คนไทยตื่นตัวในความรักชาติ
อาศัยเหตุดังกล่าวมาแล้วเป็นอันกล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณาธิคุณยิ่งใหญ่แก่ประเทศไทย สมควรที่ชาวไทยทุกหมู่เหล่า จะได้พร้อมใจกันบริจาคทรัพย์ ตามกำลังความศรัทธา สามารถสร้างพระบรมรูปถวายเป็นอนุสาวรีย์ เชิดชูพระเกียรติยศต่อไป
ในส่วนที่เกี่ยวกับ พระปรีชาญาณเห็นการณ์ไกลนั้นเล่าพระองค์ ได้ทรงปฏิบัติพระราชกิจเหมาะสมความต้องการของสมัย ยังให้ประเทศไทยดำรงความเป็นปกติสุข และอิสรภาพสมควรแก่ฐานะในสมัยนั้น เช่นการประกาศสถานะสงครามร่วมกับพันธมิตรในทวีปยุโรป และการนำประเทศเข้าสู่มหาสงครามร่วมกับชาวโลก "
การได้นำธงไตรรงค์ อันเป็นธงชาติที่สร้างขึ้นใหม่ ในรัชกาลที่ 6 ไปแสดงตัวถึงยุโรป ในฐานะผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่ 1 ย่อมแสดงถึงศักดิ์ศรี และเกียรติยศของคนไทย ซึ่งปรากฏสู่สายตาของคนทั้งโลก
อัน " ธงไตรรงค์ " นี้ ยังเป็นภาพพจน์แห่งความสามัคคี และความเป็นปึกแผ่นของคนไทย มาตลอดสงครามโลกครั้งที่ 2 ตราบถึงทุกวันนี้
|
|
จำนวนภาพ 1 ภาพ |
|
บันทึกเมื่อ 2/14/2566 ภาพ |
|
ภาพกิจกรรม พระราชกรณียกิจ |
|
|
|