โครงการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวข้าราชการ
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

 

ที่ตั้งโครงการ
  บริเวณสหกรณ์ออมทรัพย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
หมู่ที่ 1  ตำบลพรหมณี  อำเภอเมืองจังหวัดนครนายก
   
พระราชดำริของ
  พลเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
   
วันที่พระราชทานพระราชดำริ
  วันที่ 7 กันยายน 2549
   
รายละเอียดพระราชดำริ
  พลเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีรับสั่งกับ
ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ณ พระตำหนัก เอ 1 ถึงการที่ทรง
รับผลิตภัณฑ์การตัดเย็บเสื้อผ้าของชาวเขา เพื่อจำหน่ายยังร้านภูฟ้าจำนวนมาก
ทำให้มีผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเหลือจากการขาย ต้องนำมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น
ทำเป็นเครื่องใช้ภายในบ้าน และสำนักงาน โดยให้ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อย
พระจุลจอมเกล้า พิจารณาจัดกลุ่มครอบครัวข้าราชการชั้นผู้น้อย รวมทั้งกลุ่ม
ประชาชนหมู่บ้านเทพประทาน เข้ามาดำเนินการเพื่อให้มีงานทำ และเพิ่มรายได้
โดยจัดวิทยากรมาอบรมสอนการดำเนินการ
   
ปีที่เริ่มดำเนินการโครงการ
  ปี 2549
   
รายละเอียดโครงการ
  โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าได้ประสานเชิญวิทยากรจากวิทยาลัยการอาชีพ
นครนายก และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดนครนายก มาฝึกสอน ในการตัดเย็บ
โดยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ได้สำรวจครอบครัวของข้าราชการชั้นผู้น้อย
ที่มีความประสงค์จะร่วมกิจกรรม ได้จำนวนทั้งสิ้น 24 คน และราษฎรหมู่บ้านเทพ-
ประทาน จำนวน 15 คน รวม 39 คน ในส่วนของครอบครัวข้าราชการโรงเรียน
นายร้อยพระจุลจอมเกล้าได้แบ่งผู้เข้ารับการอบรมเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มแรก จำนวน
10 คน ที่ยังไม่มีพื้นฐานการตัดเย็บจัดให้มีการฝึกอบรม ณ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน
จังหวัดนครนายก ตั้งแต่ วันที่ 2– 13 ตุลาคม 2549 และกลุ่มที่สอง จำนวน 14 คน
ที่มีพื้นฐานการตัดเย็บฯได้จัดให้มีการฝึกอบรมที่วิทยาลัยการอาชีพนครนายกตั้งแต่
วันที่ 8 – 12 ตุลาคม 2549 ซึ่งผลของการอบรมกลุ่มแรก สามารถดำเนินการตัดเย็บ
เบื้องต้นได้ แต่การแปรรูปผลิตภัณฑ์ต้องได้รับการฝึกฝนเพิ่มเติม ส่วนกลุ่มที่สอง
มีความพร้อมในการตัดเย็บและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเสื้อผ้าของชาวเขา เพื่อส่งให้
ร้านภูฟ้าจำหน่ายได้ ในส่วนของราษฎรหมู่บ้านเทพประทาน วิทยาลัยการอาชีพ
ได้จัดวิทยากรไปให้การอบรม ณ หมู่บ้านเทพประทาน ผลการอบรมผู้เข้ารับการอบรม
มีฝีมือระดับเย็บผ้าโหล ทางโครงการจึงไม่ได้ป้อนงานให้ร้านภูฟ้า ซึ่งต่อมาก็ได้หยุด
การดำเนินการ ดังนั้น สมาชิกของโครงการที่ดำเนินการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเสื้อผ้า
ของชาวเขา จึงมีเพียงกลุ่มของครอบครัวข้าราชการชั้นผู้น้อยของโรงเรียนนายร้อย-
พระจุลจอมเกล้า
   
สถานภาพโครงการ
  ยังดำเนินการอยู่
   
งบประมาณปัจจุบัน
  29,727.- บาท
   
แหล่งงบประมาณปัจจุบัน
  1 ได้รับวัสดุอุปกรณ์ในการตัดเย็บจากโครงการแก้ปัญหาความยากจน
อย่างยั่งยืน ( C – POUR ) จากวิทยาลัยการอาชีพนครนายก มูลค่า
ประมาณ 10,000.- บาท

2 ได้รับสนับสนุนเป็นค่าวัสดุจัดตั้งสำนักงาน จำนวน 4,727.- บาท
และจักรเย็บผ้า จำนวน 4 หลัง จากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

3 ได้รับการสนับสนุนเงินยืมเป็นทุนหมุนเวียน ในการดำเนินโครงการ
จากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จำนวน 15,000.- บาท
   
หน่วยงานรับผิดชอบ
  ส่วนวิชาทหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า