ตราอาร์ม    ตราแผ่นดินของไทย    ตราสัญลักษณ์ รร.จปร.    ตราอาร์ของหน่วยงานอื่น ๆ
 


ตราแผ่นดินที่หน้าหมวกของตำรวจ

เริ่มมีขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ซึ่งก่อนหน้านั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
มีตราหน้าหมวกประกอบเครื่องแบบของตำรวจในรูปแบบต่างๆ อาทิ
การใช้เครื่องแบบสีน้ำเงิน นุ่งกางเกงและผ้าม่วงโดยสวมหมวกยอด
( Helmet ) ต่อมาใช้ชุดสีกากีและสวมหมวกสีดำมีลักษณะคล้าย
หมวกแก๊บ แต่ไม่มีกระบังแดด มีจุกสีแดง สำหรับตราหน้าหมวก
ชั้นประทวนนั้นทำด้วยโลหะสีเงิน เป็นรูปกงจักรวางอยู่บนกลีบบัวหงาย
ภายในเป็นรูปช้างสามเศียร อยู่ตรงกลางอาร์มและมีอักษร “กรมกองตระเวน ”
อยู่ที่ขอบกงจักร ส่วนชั้นสัญญาบัตรจะเพิ่มพระมหาพิชัยมงกุฎอยู่ด้านบน
เป็นต้น


ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระ
กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเปลี่ยนแปลงตราหน้าหมวกใหม่เพื่อความ
เหมาะสม เรียกกันว่า “ปทุมอุณาโลม” ซึ่งพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้จำลองมาจากพระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แต่ตราหน้าหมวกนี้ใช้ได้ไม่นาน
ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลิกใช้ โดยมีพระราชประสงค์ให้ใช้เป็น
“ ตราอาร์ม ” แบบของอังกฤษ ดังที่ปรากฏอยู่ที่หน้าหมวกตำรวจในปัจจุบัน
ซึ่งออกแบบโดยหม่อมเจ้าประวิตร ชุมสาย กำหนดให้ตรงกลางเป็นโล่
ภายในโล่ แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนบนเป็นรูปช้างเอราวัณสามเศียร
อันหมายถึง ทิพยสมบัติ แต่บางท่านให้คำอธิบายว่า หมายถึง
สยามประเทศ 3 ส่วน คือ เศียรกลาง หมายถึง สยามส่วนกลาง คือ ภาคกลาง
เศียรซ้าย หมายถึง ส่วนเหนือ เศียรขวา หมายถึง ส่วนใต้ ส่วนล่างซีกซ้าย
เป็นรูปช้างเผือก หมายถึง บรรดามลาวประเทศ ส่วนล่างซีกขวา เป็นรูปกริช
หมายถึง หัวเมืองมลายู (มาเลเซีย) ซึ่งอยู่ในขอบขัณฑสีมาในรัชสมัยนั้น
แต่บางท่านก็ตีความรวมทั้งช้างเผือกและกริชว่า หมายถึง ราชสมบัติ
อันยิ่งใหญ่ เหนือโล่ขึ้นไปเป็นรูปจักรและตรี อันหมายถึง พระบรมราชวงศ์จักรี
อยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ โดยมีฉัตร 7 ชั้นอยู่ 2 ข้าง ซึ่งพระมหาพิชัย
มงกุฎและฉัตรนี้เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทางด้านซ้าย
ของโล่เป็นรูปคชสีห์แบกพระแสงกระบี่อาญาสิทธิ์ อันหมายถึง ตราของ
ทางฝ่ายทหาร ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานหลักในการผดุงรักษาประเทศ
ทางด้านขวาของโล่เป็นรูปราชสีห์แบกพระแสงดาบอาญาสิทธิ์ อันหมายถึง
ตราของฝ่ายพลเรือน คือ มหาดไทย ซึ่งเป็น 1 ใน2 ของหน่วยงานที่เป็น
หลักในการรักษาประเทศนั่นเอง หม่อมเจ้าประวิตร ชุมสาย จึงได้นำ
เครื่องหมายของทั้งสองหน่วยงานมารวมไว้ในตราแผ่นดินนี้ด้วย


รอบโล่เป็นพระสังวาลย์ของพระมหากษัตริย์ห้อยไว้ นอกจากนี้
ยังมีเครื่องพระราชกกุธภัณฑ์ประดับอยู่ในตราแผ่นดิน คือ
ฉลองพระบาทอยู่ใต้ฉัตรทั้งสองข้าง และพระแส้จามรีอยู่คู่กับ
พระแสงกระบี่อาญาสิทธิ์ทางด้านซ้าย ส่วนพระแสงดาบอาญาสิทธิ์
ทางด้านขวามีพัชนีฝักมะขามอยู่คู่กัน ทั้งหมดนี้ตั้งอยู่บนแท่นสี่เหลี่ยม
ด้านล่างของแท่นมีแถบผ้าพริ้วอยู่ จารึกคาถาบาลี ว่า

“ สพเพ สงฆ ภูตาน สามคคี วฑฒิ สาธิกา ”

พร้อมทั้งมีพระฉลองภูษาเต็มยศของพระมหากษัตริย์คลุม
โอบจากเบื้องหลัง ส่วนด้านหน้าสุดจะมีคำว่า “พิทักษ์สันติราษฎร์ ”
อยู่บนแถบผ้าพริ้วด้วย


จะเห็นได้ว่า ความสมบูรณ์ของตราแผ่นดินนี้ได้รวมภาพเกี่ยวกับ
อิสราธิปไตยของชาติไว้อย่างครบครัน คือ หมายถึง ความเป็น
ชาติเอกราชและมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์พระประมุข
ของประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็น
“ ตราแผ่นดิน ”


ตราแผ่นดินนี้ได้ใช้มาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
'พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เท่านั้น ก็มีพระราชประสงค์
ให้ใช้ตรา
“ พระครุฑพ่า ” เป็นตราแผ่นดินมาจนทุกวันนี้

ปัจจุบันหน่วยงานที่ใช้ตราแผ่นดิน หรือ ตราอาร์ม เป็นตรา
ประจำหน่วยงานมีเพียงไม่กี่หน่วยงานเท่านั้น เพราะถือเป็นหน่วยงาน
ที่จัดตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เพียงตัดคำว่า
“พิทักษ์สันติราษฎร์” ออก
เว้นแต่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเท่านั้นที่ยังคงใช้ตราแผ่นดิน
หรือ ตราอาร์ม เป็นตราหน้าหมวกของข้าราชการตำรวจ

ตราสัญลักษณ์กรมป่าไม้

รูปตราประจำกรมป่าไม้ คือ ตราพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินในรัชกาลที่ 5
กรมป่าไม้ใช้
ตรานี้เป็นตราประจำกรม เพราะเป็นหน่วยราชการ ที่ทรงก่อตั้งขึ้น
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีชื่อกรมอยู่ด้านล่าง

พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน หรือตราแผ่นดินองค์นี้ พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นจัดอยู่ในประเภทตราสมัยใหม่
ที่เรียกว่า ตราอาร์ม ผู้ออกแบบคือ 
หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย ส่วนรูปปลาย
ของตราเป็นรูปเครื่องขัตติยราชอิสริยยศ คือ ส่วนที่อยู่ตรง 
กลางของตรา เป็นรูปโล่

แบ่งเป็น 3 สวน ประกอบด้วย

        - ส่วนบน เป็นรูปช้างไอยราพต

        - ด้านล่างซ้าย คือ ช้างเผือก

        - ด้านล่างขวา คือ กริช ซึ่งหมายถึง ขอบขัณฑสีมา

ในรัชสมัยของพระองค์ อันประกอบด้วย สยามส่วนกลาง ส่วนเหนือ และสยามส่วนใต้

        - เหนือโล่ขึ้นไป คือ จักรและตรี เป็นเครื่องหมายแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

        - เหนือรูปจักรและตรี เป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ สองข้างของพระมงกุฎเป็น 
          รูปฉัตร 7 ชั้น มีราชสีห์ประคองอยู่

        - ด้านบนซ้ายของโล่ เป็นพระแสงกระบี่อาญาสิทธิ์

        - ด้านบนขวาของโล่ เป็นพระแสงดาบอาญาสิทธิ์

        - รอบโล่ เป็นพระมหาสังวาลนพรัตน์และสังวาลเครื่องราชอิสริยากรณ์จุลจอมเกล้า

        - เครื่องประกอบพระราชอิสริยาภรณ์ทั้งหมดนี้มีฉลองพระครุยคลุมโอบเบื้องหลัง 

ตราอาร์มกรมไปรษณีย์โทรเลข

ตราอาร์มแผ่นดิน ก่อนเปลียนมาเป็นครุฑพ่าห์


พจนานุกรมฉบับราชบํณฑิตสถาน ปี พ.ศ.๒๕๒๔ ให้คำจำกัดความ คำว่า อาร์ม
ว่ามาจากภาษาอังกฤษ ARM แปลว่าเครื่องหมายมักผูกเป็นรูปโล่ ที่ภายใน
ผูกเป็นลวดลาย ใช้เป็นสัญลักษณ์ ของวงศ์ตระกูล สถาบันต่าง ๆ เรียกเต็ม ๆ
ว่าตราอาร์ม

เมื่อ ๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๒๖ กรมไปรสนีย์ กรุงสยาม ได้ออกไปรสนียบัตร
ออกมาเป็นรูปอาร์ม และเคยมี อากร เป็นการเสีย ค่า นา (ค่าทำนา)

ผู้ออกแบบ ตราอาร์ม คือ หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย ทรงออกแบบ
ตราอาร์มเป็นตราแผ่นดิน หม่อมเจ้าประวิช ทรงเป็นพระเชษฐาของ
หม่อมเจ้าชาย ปฤษฏาง ชุมสาย (พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฏางค์)
ผู้นำความรุ่งเรื่องมาสู่วงการไปรษณีย์ เมื่อคราวท่านเป็นทูตอยู่กรุงปารีส
๒๘ ก.ค. ๒๔๒๘ ได้ให้กรุงสยาม เข้าเป็นสามชิกสหภาพสากลไปรษณีย์
และได้มาบริหารกรมไปรฯด้วย) ขอเล่าต่ออีกนิดครับ คือสมัยพระยา
อนุมานราชธน ยังเป็นเด็กๆทำงานโรงแรมโอเรียนเต็ล ท่านไปเรียน
ภาษาอังกฤษ จากพระองค์เจ้าปฤษฏางค์ พระยาอนุมานราชธน
เขียนไว้ในอัตชีวประวัติว่า ท่าเอาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่ได้รับ
พระราชทานมา บรรจุไว้ในสถูปเจดีย์ที่ลังกา เพื่อถวายเป็น
พุทธบูชา เมื่อคราวพระองค์ไปผนวชที่ประเทศลังกาคราวนั้น
ท่านเป็น นัดดารัชกาลที่ ๓

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ใช้ครุฑพ่าห์เป็นตราแผ่นดิน ตั้งแต่ปี พ.ส.๒๔๓๖ หรือ ร.ศ.๑๑๒
เป็นต้นมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรา
นุวัตติวงศ์ ทรงเขียนพระราชลัญจกร พระครุฑพ่าห์ เป็นตราแผ่นดิน
แทนตราอาร์ม และใช้ครุฑ อย่างเต็มที ในปี พ.ศ.๒๔๕๓ ซึ่งเป็นปีที่
ตราไปรษณียากรชุดครุฑรัชกาลที่ ๕ และนำออกจำหน่าย เมื่อ
วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ส.๒๔๕๓


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาพไปรษณียบัตร กึ่งกลาง มีรูปตราอาร์ม ตราแผ่นดินก่อนเปลี่ยน
ครุฑพ่าห์ ภาพครุฑแตรหง่อน สัญญลักษณ์ ของกรมไปรษณีย์โทรเลข

 

 
พัฒนาโดย กองเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้่า
99 ถนนสุวรรณศร ตำบลพรหมณี อำเภอเมือง
จังหวัดนครนายก 26001
โทร. 037 - 393010 - 5 ต่อ 62453