ตราอาร์ม    ตราแผ่นดินของไทย    ตราสัญลักษณ์ รร.จปร.    ตราอาร์ของหน่วยงานอื่น ๆ
 

 

เครื่องราชกกุธภัณท์ เป็นสัญลักษณ์ชุดหนึ่ง เสวกเอก หม่อมเจ้า
ประวิช ชุมสาย พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมสาย
กรมขุนราชสีหวิกรม นำมาผูกลงเป็นตราประจำประเทศ ขึ้นเป็นครั้งแรก
ใน พ.ศ. ๒๔๑๖ โดยอิงกับ หลักการผูกตราของทางยุโรปที่เรียกกันว่า
Heraldry (หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยแปลคำนี้ลงในหนังสือ
เรื่อง ฝรั่งศักดินา เอาไว้ว่า “มุทราศาสตร์”) ตรานี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า
ตราแผ่นดินหรือตราอาร์ม ซึ่งต่อมา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
ได้ใช้ ตราอาร์ม หรือ ตราแผ่นดิน นี้ เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบัน

กกุธภัณฑ์ หรือ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ (อังกฤษ: Crown jewels)

       ตามรูปศัพท์แปลว่า เครื่องใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ กกุธภัณฑ์ เป็นคำ
ภาษาบาลี มาจาก กกุธ แปลว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ
แปลว่า ของใช้ เครื่องราชกกุธภัณฑ์จึงหมายถึง อุปกรณ์, เครื่องทรง
และ/หรือ สิ่งอื่นๆ ที่เป็นของพระมหากษัตริย์ของประเทศต่าง ๆ ที่มอบให้แก่
พระมหากษัตริย์องค์ต่อไปเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการมอบสิทธิในการ
ครองราชบัลลังก์

       เครื่องราชกกุธภัณฑ์อาจจะประกอบด้วย มงกุฎคทา,
ลูกโลกประดับกางเขน, ดาบ, แหวน และสิ่งอื่น ๆ ที่ถือว่า
เป็นสิ่งประกอบเกียรติยศของประมุขของประเทศ

  • กกุธภัณฑ์ ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถา ที่ 358 ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร

    กกุธภัณฑ์มีความสำคัญยิ่งเพราะเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระราชาธิบดี จึงเป็นสิ่งที่จะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เครื่องราชกกุธภัณฑ์ประกอบด้วย

    1. พระมหาเศวตฉัตร หรือพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร
    2. พระมหาพิชัยมงกุฎ
    3. พระแสงขรรค์ชัยศรี
    4. ธารพระกร
    5. วาลวีชนี (พัดกับแส้จามรี)
    6. ฉลองพระบาทเชิงงอน

              ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 2 มีทั้งฉัตร
    และ ธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ 
    และ ฉลองพระบาท รวมเป็น 7 สิ่ง

  • พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร

    (นพ=เก้า ปฎล=ชั้น เศวต=สีขาว) เป็นฉัตร 9 ชั้น สำหรับพระมหากษัตริย์
    ที่ทรงรับพระราชพิธีบรมราชภิเษกตามโบราณราชประเพณีแล้ว
    ฉัตรแบบนี้เรียกโดยย่อว่า "พระมหาเศวตฉัตร"

"พระมหาเศวตฉัตร" เป็นฉัตรผ้าขาว 9 ชั้น มีระบาย 3 ชั้น ขลิบทอง แผ่ลวด และมียอดเป็นราชกกุธภัณฑ ์ของพระมหากษัตริย์
ที่สำคัญที่สุด มีที่ใช้คือ ปักที่พระแท่นราชอาสน์ราชบัลลังก์ กางกั้น
เหนือพระแท่นที่บรรทม ปักพระยานมาศ และ แขวนกางกั้น พระโกศทรงพระบรมศพ เป็นต้น

 

 

 

  • พระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นหนึ่งในห้าของเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์
    อันเป็นเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยตั้งแต่สมัยโบราณ จนถึงปัจจุบัน

    พระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นเครื่องประดับพระเศียรองค์แรก สร้างขึ้น
    ในรัชกาลที่ 1 ในพุทธศักราช 2325 ทำด้วยทองคำลงยาบริสุทธิ์
    ประดับเพชร เฉพาะองค์พระมหามงกุฎ ไม่รวมพระกรรเจียกจอน
    สูง 51 ซ.ม. ถ้ารวมพระกรรเจียกจอนสูง 66 ซ.ม. มีน้ำหนัก
    7.3 กิโลกรัม ที่ยอดประดับเพชรเม็ดใหญ่ ซึ่งรัชกาลที่ 4 ได้ทรง
    พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หามาจากเมืองกัลกัตตา
    ประเทศอินเดีย มาประดับที่ยอดพระมหามงกุฎ พระราชทาน
    นามเพชรเม็ดนั้นว่า "พระมหาวิเชียรมณี"

 

 

  • พระแสงขรรค์ชัยศรี

    เป็นพระแสงศาสตราวุธประจำองค์พระมหากษัตริย์ และเป็นหนึ่งในห้า
    ของเบญจราชกกุธภัณฑ

    พระขรรค์ หมายถึง พระสติปัญญาความรอบรู้ในการปกครองบ้านเมือง
    พระแสงองค์นี้มีประวัติอันเก่าแก่ เดิมตกจมอยู่ในทะเลสาบเขมร
    (Tonle sap) ที่เมืองเสียมราฐ (เสียมเรียบ) ประเทศกัมพูชา
    วันหนึ่ง ในปี พ.ศ. ๒๓๒๗ ชาวประมงได้ทอดแหแล้วเห็นพระขรรค์
    องค์นี้ ชาวประมงผู้นั้นจึงนำมาถวาย เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน)
    เจ้าเมืองเสียมราฐ และเจ้าเมืองเสียมราฐได้นำทูลเกล้าถวาย
    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

    เมื่อวันที่พระแสงองค์นี้มาถึงกรุงเทพมหานคร ได้เกิดฟ้าผ่า
    ในพระนครถึง ๗ แห่ง เช่นที่
    • ประตูวิเศษไชยศรีในพระราชฐานชั้นนอก
    • ประตูพิมานไชยศรี ในพระราชฐานชั้นกลาง ซึ่งเป็น
      ทางที่อัญเชิญ พระแสงองค์นี้ผ่านไป
      เพื่อเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง

      พระแสงขรรค์ชัยศรี เป็นพระแสงศาสตราวุธที่สำคัญที่สุด
      ในพระราชพิธีที่สำคัญ ได้แก่ พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์
      สัตยา และ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทั้งด้ามและฝัก
      มีความยาว ๑๑๕ ซม. ฝักกว้าง ๕.๕ ซม. ใบพระขรรค์
      ทำด้วยเหล็กมีคมทั้งสองด้าน ส่วนด้ามทำด้วยแก้วผลึก
      รูป ๘ เหลี่ยม มีทองคาดตามแนวปลายด้าม ทำเป็น
      หัวเม็ดรูป ๖ เหลี่ยมประดับพลอย ตัวฝักทำด้วยทองคำ
      ประดับด้วยลายรักร้อย ขอบฝักทำเป็นลายกระหนก
      ประดับอัญมณีสีต่างๆ

 

 


  • ธารพระกร อันเป็นหนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ หรือเป็นไม้เท้าของพระมหากษัตริย์นั้น เดิมเรียกว่า ธารพระกรชัยพฤกษ์ เนื่องจากทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ หุ้มทอง หัวและส้นเป็นเหล็ก คร่ำลายทอง ใช้ในพระราชพิธีฉัตรมงคล

 



 

  • พัดวาลวิชนี และ พระแส้หางจามรี เป็นเครื่องใช้ประจำ
    องค์พระมหากษัตริย์ และเป็นหนึ่งในห้าของเบญจราชกกุธภัณฑ์

    พระแส้หางจามรี มีที่มาจากคำว่า
    "จามรี" ซึ่งเป็นแส้
    ทำด้วยขนหางจามรี

    ส่วน วาลวิชนี เดิมนั้นคือพัดใบตาล
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า
    ชื่อ วาลวิชนี นั้น คำว่า
    "วาล" เป็นขนโคชนิดหนึ่ง
    ที่เรียกว่า
    "จามรี" จึงทรงทำแส้ขนจามรีขึ้น มีด้ามเป็นแก้ว
    ต่อมา ได้เปลี่ยนขนจามรีเป็นขนหางช้างเผือกแทน
    และใช้คู่กันกับพัดวาลวิชนี ซึ่งประดิษฐ์จากใบตาล
    ด้ามและลวดลายประกอบทำด้วยทองลงยา

 

 

  • ฉลองพระบาทเชิงงอน เป็นสิ่งประจำองค์พระมหากษัตริย์ และเป็นหนึ่งในห้าของเบญจราชกกุธภัณฑ์ หรือรองเท้าของพระมหากษัตริย์ ที่ทำมาจากเกือกแก้ว ซึ่งหมายถึง ผืนแผ่นดินอันเป็นที่รองรับของเขาพระสุเมรุ และเป็นที่อยู่อาศัยของ อาณาประชาราษฎร์ทั่วทั้งแว่นแคว้น ฉลองพระบาทเชิงงอนนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ตามแบบประเพณีอินเดียโบราณ

 

 

  • ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 2 มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น 7 สิ่ง

 

 


 

 

 

 
พัฒนาโดย กองเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้่า
99 ถนนสุวรรณศร ตำบลพรหมณี อำเภอเมือง
จังหวัดนครนายก 26001
โทร. 037 - 393010 - 5 ต่อ 62453