ตราอาร์ม    ตราแผ่นดินของไทย    ตราสัญลักษณ์ รร.จปร.    ตราอาร์ของหน่วยงานอื่น ๆ
 

"สพฺเพสํ สงฺฆภูตานํ สามคฺคี วุฑฒิ สาธิกา"

แปลว่า "ความพร้อมเพรียงของบุคคลทั้งปวงผู้อยู่เป็นหมวดหมู่กัน
ย่อมเป็นเครื่องทำความเจริญให้สำเร็จ"
คาถาบทนี้เป็นพระนิพนธ์
ของสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐ์
สถิตมหาสีมาราม ซึ่งได้ใช้เป็นคำขวัญประจำโรงเรียนนายร้อย
พระจุลจอมเกล้าในเวลาต่อมาอีกด้วย

 

 

        งานพระนิพนธ์ของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
(สา ปุสฺสเทโว) พระสังฆราชพระองค์ที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
มีอยู่มากมายหลายชิ้น แต่ชิ้นหนึ่งที่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้จักกันคือ
พระคาถาซึ่งปรากฏอยู่ใต้ตราแผ่นดิน หรือ “ตราอาร์ม” ในสมัย
รัชกาลที่ 5

        

พระคาถานี้เขียนอยู่ในแถบที่มีรูปร่างเลียนแบบผ้าแพร
คาดอยู่ใต้ตราแผ่นดิน เขียนเป็นภาษาบาลีว่า 



“สพฺเพสํ สงฺฆภูตานํ สามคฺคี วุฑฺฒิสาธิกา”
 

แปลว่า “ความเป็นผู้พร้อมเพรียงแห่งชน
ผู้เป็นหมู่แล้วทั้งหลายทั้งปวงให้ความเจริญสำเร็จ”



        นนทพร อยู่มั่งมี อธิบายไว้ในหนังสือ “พระประวัติ
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช(สา ปุสฺสเทโว)
ว่า พระคาถานี้สมเด็จพระสังฆราช(สา) ได้ทรงนิพนธ์ถวาย
เพื่อฉลองพระราชศรัทธาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว ซึ่งแสดงถึงความไว้วางพระราชหฤทัย ที่มีต่อ
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์นี้


       

นนทพร อธิบายว่า พระคาถานี้ เกิดขึ้นในช่วงที่สยาม
เกิดการเปลี่ยนแปลงนานาประการ 
ที่สำคัญประการหนึ่ง
คือ เกิดการตื่นตัวในเรื่องการเมืองการปกครอง 
จนทำให้มีกระแสของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ไปสู่ประชาธิปไตย ดังจะเห็นจากการที่มีคณะบุคคล
ซึ่งนำโดยเจ้านายชั้นสูง เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลง
การปกครองเสียใหม่ในพ.ศ. 2428 ซึ่งก่อให้เกิด
ความเห็นแตกต่างทางการเมือง

 

               

ต่อประเด็นความขัดแย้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว จึงได้พระราชนิพนธ์เรื่อง “พระบรมราชาธิบาย
ว่าด้วยเรื่องความสามัคคี”
ขึ้น ความตอนหนึ่งว่า

 

“...คาถานี้เป็นคาถาซึ่งจารึกในอามแผ่นดิน
เป็นคาถาที่ว่าทั่วไปในหมู่ทั้งปวง...ไม่ว่าถึงคนทั้งปวง
ซึ่งเป็นหมู่ใหญ่ทั่วไป ยกเอาพวกที่เป็นผู้รับราชการ
เป็นผู้ปกครองรักษาและเป็นผู้ทำนุบำรุงบ้านเมือง
จะประพฤติอย่างไร จึงจะเป็นการสมควรถูกต้อง

ด้วยคาถาสุภาษิตนี้ และจะได้รับความเจริญ
ตามคาถาสุภาษิตนี้....”

 

“...ข้าพเจ้าเห็นว่าท่านผู้ซึ่งมีความคิดอยู่ปลาย
ทั้งสองฝ่าย ควรจะลดหย่อนความคิดเห็นของตน
ร่นลงมาให้อยู่ตรงกลาง

ผู้จะจัดการบ้านเมืองตามเวลาที่สมควรจะสำเร็จ
ตลอดไปได้ให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เกิดความสามัคคี
พร้อมเพรียงกันในอย่างกลางนี้แล้ว จะเป็นผลให้
การทั้งปวงสำเร็จตลอดไปได้ ดีกว่าที่จัดอยู่หัว
อยู่ท้ายนั้นมาก...”

 



สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ

สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)
สกลมาสังฆปริณายก

ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 9 แห่งกรุง
รัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
ราชวรวิหาร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2436 ถึงปี
พ.ศ. 2442 รวม 6 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อพระชน
มายุ 87 พรรษา เคยเป็นสามเณรนาคหลวงที่มีชื่อเสียง
โด่งดังมากที่สุดของกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะเป็นผู้
สามารถสอบเปรียญ 9 ประโยคได้ขณะยังเป็น
สามเณร รูปแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านได้รับ
การยกย่องว่าเป็น สามเณรอัจฉริยะ แห่งกรุง
รัตนโกสินทร์

 

 

 

 

 
พัฒนาโดย กองเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้่า
99 ถนนสุวรรณศร ตำบลพรหมณี อำเภอเมือง
จังหวัดนครนายก 26001
โทร. 037 - 393010 - 5 ต่อ 62453